- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: ข้อมูลข่าวสาร
- ฮิต: 4662
ประกาศ การเปิดรับคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ.2559
ด้วยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2559 เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ.2559 โดยมีข้อกำหนด ดังนี
1. เปิดรับหนึ่งร้อยคน สำหรับคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ และห้าสิบคน สำหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติ
2. การเปิดยื่นรับคำขอ กำหนดตั้งแต่วันที่ 1กันยายน 2559 ถึง 30 ธันวาคม 2559 ในวันและเวลาราชการ
3. สถานที่ยื่นคำขอ
ในกรุงเทพมหานคร
ให้ยื่นได้ที่ กองกำกับการ 1 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 (งานขอมีถิ่นที่อยู่)ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี อาคารบี (ชั้น 2 ด้านทิศใต้) เลขที่ 120หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ในส่วนภูมิภาค
ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่ที่ตนอยู่ในกรณีที่ท้องที่นั้นไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง
ให้ยื่นคำขอ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองที่ใกล้เคียง
คลิกอ่านรายละเอียด
1. ประกาศสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เรื่อง การเปิดรับคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ.2559
2.ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
ประจำปี พ.ศ.2559
3. กฎกระทรวงฉบับที่ 27 (พ.ศ.2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522
4. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขประกอบการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
5. คำแนะนำ และแบบฟอร์มสำหรับการยื่นคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
- คำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
- แบบข้อมุลบุคคล
- ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐ
- แผนที่แสดงสถานที่พำนักและสถานที่ทำงาน
- ตัวอย่างหนังสือรับรองเงินเดือน
- ตัวอย่างหนังสือขอตรวจสอบประวัติการทำงาน
6. เอกสารประกอบแยกตามประเภทของการยื่นคำขอ
- ตัวอย่างหนังสือขอตรวจสอบประวัติการทำงาน
- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: ข้อมูลข่าวสาร
- ฮิต: 4884
อัตราค่าธรรมเนียม(ปรับปรุงใหม่)
ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตม.15)
กรณีเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรก่อน พ.ร.บ.คนเข้าเมืองฯ
กำหนด ฉบับละ 19,000 บาท
ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตม.16)
กรณีเพื่อการลงทุนรวมทั้งการลงทุนเป็นกรณีพิเศษ ฉบับละ 191,400 บาท
กรณีเพื่อการทำงานหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญ ฉบับละ 191,400 บาท
กรณีสมรสกับบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย ฉบับละ 95,700 บาท
กรณีเป็นหัวหน้าครอบครัวเพื่อให้การอุปการะบุตรผู้มีสัญชาติไทย ฉบับละ 95,700 บาท
กรณีเป็นคู่สมรสของผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว ฉบับละ 95,700 บาท
กรณีเป็นบุตรของผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้วหรือเป็นบุตรของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ฉบับละ 95,700 บาท
บรรลุนิติภาวะแล้ว ฉบับละ 191,400 บาท
กรณีขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามเดิม(นอกโควต้า) ฉบับละ 95,700.- บาท
ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ (ตม.17)
กรณีชำรุด หรือสูญหาย หรือหมดหน้าประทับตรา ฉบับละ 1,900.- บาท
การทำหลักฐานแจ้งออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อกลับเข้ามาอีก(Endosement)
ฉบับละ 1,900.- บาท
- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: ข้อมูลข่าวสาร
- ฮิต: 5554
การรับแจ้งอยู่ในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน
|
||
คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแล้ว ถ้าอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน คนต่างด้าวผู้นั้นมีหน้าที่ต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยต่อพนักงานสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทุก90 วัน หากท้องที่ใดมีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่จะแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการแห่งนั้น ก็ได้ ทั้งนี้ เป็นไปตาม มาตรา 37(5) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
|
||
วิธีการแจ้ง
|
||
|
||
เอกสารประกอบคำร้อง กรณียื่นด้วยตนเอง
|
||
|
||
สถานที่รับแจ้ง
|
||
|
||
การปฏิบัติเมื่อแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
|
||
|
||
|
- รายละเอียด
- เขียนโดย Super User
- หมวด: ข้อมูลข่าวสาร
- ฮิต: 6009
การแจ้งที่พักคนต่างด้าว
การแจ้งที่พักคนต่างด้าว สำหรับสถานประกอบการ
การแจ้งที่พักของคนต่างด้าว ตาม พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 ได้กำหนดไว้ว่า “เจ้าบ้าน เจ้าของบ้านหรือผู้ครอบครองเคหสถาน หรือผู้จัดการโรงแรมซึ่งรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่ เคหสถาน หรือโรงแรมนั้นอยู่ ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ถ้าท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองตั้งอยู่ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่นั้นในกรณีที่บ้าน เคหสถาน หรือโรงแรมที่คนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ตามวรรคหนึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร ให้แจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ กองตรวจคนเข้าเมือง
การแจ้งตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด"
ในการแจ้งที่พักคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัยในเคหะสถานซึ่งได้แก่ โรงแรมที่ได้รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัติโรงแรมฯและ
เกสเฮ้าส์ แมนชั่น อพาร์ตเม้นท์ สถานประกอบการหรือบ้านเช่าทั่วๆไป ให้เจ้าของเคหสถานดังกล่าว เจ้าของบ้านเช่า หรือผู้ประกอบการแจ้งตามแบบ ตม. 30
กรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่ กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
กรณีที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด ให้แจ้ง ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในเขตพื้นที่ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ
• นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผุ้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง หรือ
• แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือ
• แจ้งทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Internet)
วิธีที่ 1 นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง
นำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง หรือมอบหมายให้ผู้อื่นนำเอกสารมาแจ้ง ที่ช่องบริการแจ้งที่พักอาศัย (ตม.30) ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ (ตามวันและเวลาราชการ)
วิธีที่ 2 แจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
1. กรอกแบบฟอร์มการแจ้ง พร้อมลงชื่อผู้แจ้งให้เรียบร้อย
2. ซองจดหมายขนาด 6.5 x 9 นิ้ว พร้อมติดแสตมป์ 10 บาท จ่าหน้าซองถึงตัวท่านเอง เพื่อส่งใบรับแจ้งของเจ้าหน้าที่คืน
3. นำเอกสารข้อ 1-2 ใส่ซองลงทะเบียน (เก็บใบลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน) ส่งตามที่อยู่ ดังนี้
งานแจ้งที่พักอาศัยบุคคลต่างด้าว
กองกำกับการ 2 กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
เลขที่ 120 หมู่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ ซอย 7 แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
วิธีที่ 3 แจ้งทางอินเตอร์เน็ต (Internet)
1. ลงทะเบียนขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางระบบอินเตอร์เน็ตที่ www.immigration.go.th ในหน้าต่าง การแจ้งที่พักอาศัย เมื่อเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว จะแจ้งรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน สำหรับเข้าใช้ระบบไปยัง e-mail ที่ลงทะเบียน
2. สามารถ Download แบบขอใช้บริการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเตอร์เน็ตได้ที่ www.immigration.go.th
3. สามารถ Download คู่มือการแจ้งที่พักอาศัยทางอินเตอร์เน็ตและแบบ ตม.30 ในหน้า login เข้าระบบ
หรือกดดูขั้นตอนการเข้าระบบแจ้งที่พัก
** เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสถานประกอบการ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้พัฒนาระบบแจ้งที่พักให้สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องอ่านหนังสือเดินทางในการแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าว สามารถตรวจสอบรายละเอียดรุ่น และยี่ห้อของเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง รวมทั้งดาวน์โหลด Driver เพื่อทำการติดตั้งโปรแกรมใช้งานเครื่องอ่านหนังสือเดินทาง และคู่มือการใช้งานระบบฯ ได้จากหน้าจอ Log in เข้าระบบแจ้งที่พักอาศัย ผ่านทางเว็บไซต์ www.immigration.go.th ***
วิธีการกรอกบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย(แบบ ตม.30)
กรณีมาแจ้งด้วยตนเองหรือแจ้งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
แบบการแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย สำหรับเจ้าบ้าน เจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหะสถาน(ตม.30) ประกอบด้วยเอกสาร 2 ส่วน(2 แผ่น)ด้วยกัน ส่วนแรก เป็นการกรอกรายละเอียดข้อมูลของเจ้าบ้านฯและที่ตั้งสถานที่ที่มีคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย ส่วนที่ 2 เป็นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพักอาศัย
การกรอกรายละเอียดในแบบตม.30 ส่วนที่ 2 ขอให้ท่านดำเนินการกรอกให้ครบทุกช่อง โดยให้ดูจากหนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวเป็นหลัก เนื่องจากรายละเอียดของบุคคลต่างด้าว ซึ่งบุคคลต่างด้าวเขียนให้ก่อนเข้าพักอาศัยมักไม่ถูกต้อง และการกรอกให้ใช้วิธีพิมพ์หรือเขียน ถ้าเป็นการเขียนให้เขียนเป็น BLOCK LETTER และมีข้อพึงระวังในการกรอกดังนี้
1. ชื่อคนต่างด้าว ต้องเว้นช่องว่างระหว่าง ชื่อตัว ชื่อกลาง ชื่อสกุล ให้เห็นชัดเจน
2. เลขที่หนังสือเดินทาง หากมีตัวหนังสือข้างหน้า หรือข้างหลังตัวเลขให้เขียนลงไปด้วย
3. ช่องบัตรขาเข้าเลขที่ ให้กรอกเลขที่บัตรขาเข้า(บัตร ตม.6) ซึ่งแนบอยู่ในหนังสือเดินทาง โดยกรอกเช่นเดียวกับ
4. การกรอกเลขที่หนังสือเดินทาง กล่าวคือ หากมีตัวหนังสือ ให้กรอกตัวหนังสือลงไปด้วย
5. วันเดินทางเข้า หมายถึง วันที่คนต้างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย สำหรับวันที่เข้าพัก ให้กรอกลงใน
แผ่นหน้าของใบแจ้งรับคนต่างด้าว เข้าพักอาศัย